วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความหมายของสุขภาพกายและสุขภาพจิต
            สุขภาพกาย หมายถึง สภาวะของร่างกายที่มีความสมบูรณ์ แข็งแรง เจริญเติบโตอย่างปกติ ระบบต่างๆของร่างกายสามารถทำงานได้เป็นปกติและมีประสิทธิภาพ ร่างกายมีความต้านทานโรคได้ดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและความทุพพลภาพ
           สุขภาพจิต หมายถึง สภาวะของจิตใจที่มีความสดชื่น แจ่มใส สามารถควบคุมอารมณ์ให้มั่นคงเป็นปกติ สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสิ่งแวดล้อมต่างๆได้ดี สามารถเผชิญกับปัญหาต่างๆได้เป็นอย่างดี   และปราศจากความขัดแย้งหรือความสับสน ภายในจิตใจ
ความสำคัญของสุขภาพกายและสุขภาพจิต
              สุขภาพกายและสุขภาพจิตเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับทุกชีวิต การที่จะดำรงชีวิตอยู่อย่างปกติก็คือ     การทำให้ร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ จิตใจมีความสุข ความพอใจ ความสมหวังทั้งตนเองและผู้อื่น ผู้ที่มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี    จะปฏิบัติหน้าที่ประจำวันไม่ว่าเป็นการเรียนหรือการทำงานเป็นไปด้วยดี มีประสิทธิภาพการที่เรารู้สึกว่า    ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเรามีความปกติและสมบูรณ์ดี เราก็จะมีความสุข ในทางตรงข้าม ถ้าสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเราผิดปกติหรือไมสมบูรณ์ เราก็จะมีความทุกข์ การรู้จักบำรุงรักษา และส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับชีวิตของทุกคน ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่า การรู้จักดูแลสุขภาพกาย และสุขภาพจิตนั้นเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะช่วยให้ชีวิตอยู่ได้ด้วยความสุขสมบูรณ์และมีคุณภาพที่ดี
      ลักษณะของผู้มีภาวะสุขภาพกายที่ดี
      1. สภาพร่างกายมีความสมบูรณ์แข็งแรง 2. อวัยวะต่างๆทั้งภายในและภายนอกร่างกายสามารถทำงานได้ตามปกติ 3. ร่างกาย ไม่ทุพพลภาพ 4. ความเจริญทางด้านร่างกายเป็นไปตามปกติ 5. ร่างกายได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ
      ลักษณะของผู้มีภาวะสุขภาพจิตที่ดี
        1. มีอารมณ์มั่นคง และสามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี 2. มีความตั้งใจและกระตือรือร้นในการทำงาน ไม่ย่อท้อเหนื่อยหน่ายหรือหมดหวังในชีวิต 3. มีความสดชื่น เบิกบาน แจ่มใส ไม่เครียด ไม่มีความวิตกกังวลใจจนเกินไปมีอารมณ์ขันบ้างตามสมควร 4. มีความรู้สึกต่อผู้อื่นในแง่ดี มองโลกในแง่ดี 5. รู้จักตนเองดีและมีความเข้าใจผู้อื่นดีเสมอ 6. มีความเป็นตัวของตัวเอง และมีความเชื่อมั่นในตนเองอย่างมีเหตุผล 7. สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ดี 8. กล้าเผชิญกับปัญหา และสามารถตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง 9. มีการแสดงออกอย่างเหมาะสม เมื่อมีความสะเทือนใจ 10. สามารถแสดงความยินดีต่อผู้อื่นอย่างจริงใจเมื่อประสบความสุข ความสมหวัง หรือความสำเร็จ

พฤติกรรมมนุษย์ - ปัจจัยพื้นฐานด้านจิตวิทยา

ปัจจัยสำคัญอีกปัจจัยหนึ่งซึ่งมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมมนุษย์ ได้แก่ ปัจจัยทางจิตวิทยา ซึ่งมีปัจจัยย่อยอยู่หลายปัจจัย ปัจจัยทางจิตวิทยา จะทำหน้าที่ เป็นสื่อกลางในการรับรู้และตีความสิ่งเร้าก่อนที่ร่างกายจะแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ปัจจัยทางจิตวิทยาที่สำคัญ ประกอบด้วย แรงจูงใจและ การเรียนรู้
1. แรงจูงใจ
1.1 ความหมาย ประเภทและปัจจัย
แรงผลักดันจากภายในที่ทำให้ให้มนุษย์เกิดพฤติกรรมตอบสนองอย่างมีทิศทางและ เป้าหมาย เรียกว่า แรงจูงใจ คนที่มีแรงจูงใจ ที่จะทำ พฤติกรรมหนึ่งสูงกว่า จะใช้ความพยายามนำ การกระทำไปสู่เป้าหมายสูงกว่า คนที่มีแรงจูงใจต่ำกว่า แรงจูงใจของมนุษย์จำแนกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ประเภทแรก ได้แก่ แรงจูงใจทางกาย ที่ทำให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมสนองความต้องการ ที่จำเป็นทางกาย เช่น หาน้ำ และอาหารมา ดื่มกิน เมื่อกระหายและหิว ประเภทที่สอง ได้แก่ แรงจูงใจทางจิตซึ่งเกี่ยวข้องกับ ความต้องการทางสังคม เช่น ความต้องการความสำเร็จ เงิน คำชมอำนาจ กลุ่มและพวก เป็นต้น ปัจจัยที่ทำให้เกิดแรงจูงใจในมนุษย์ ประกอบด้วย
1.1.1 ปัจจัยทางชีวภาพ ได้แก่ ความต้องการจำเป็นของชีวิต คือ อาหาร น้ำ ความปลอดภัย
1.1.2 ปัจจัยทางอารมณ์ เช่น ความตื่นเต้น วิตกกังวล กลัว โกรธ รัก เกลียด และความรู้สึกอื่นใด ที่ให้คนมีพฤติกรรม ตั้งแต่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่จนถึง การฆ่าผู้อื่น
1.1.3 ปัจจัยทางความคิด เป็นปัจจัยที่กำหนดให้บุคคลกระทำในเรื่องที่คิดว่า เหมาะสมและเป็นไปได้ และตามความคาดหวังว่า ผู้อื่นจะสนองตอบ การกระทำของตนอย่างไร
1.1.4 ปัจจัยทางสังคม เป็นปัจจัยที่กำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ เพื่อให้สอดคล้องกับสังคม และเป็นที่ยอมรับ ของบุคคลในสังคมนั้นด้วย การกระทำของผู้อื่นและผลกรรมที่ได้รับจึงทำให้เกิดการเรียนรู้พฤติกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นไปกฏระเบียบ และตัวแบบทางสังคม
1.2 ทฤษฎีแรงจูงใจ
นักจิตวิทยาได้พัฒนาทฤษฎีเพื่ออธิบายถึงแรงจูงใจของมนุษย์ เพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ปรากฏ แต่ละทฤษฎีมีจุดที่เป็น ความแนวคิด เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ที่แตกต่างกันไป ที่สำคัญได้แก่ ทฤษฎีสัญชาติญาณ ทฤษฎีแรงขับ ทฤษฎีการตื่นตัว และทฤษฎีสิ่งล่อใจ
1.2.1 ทฤษฎีสัญชาติญาน (Instinct Theory)
สัญชาติญาน เป็น พฤติกรรมที่มนุษย์ แสดงออกโดยอัตโนมัติ ตามธรรมชาติของชีวิต เป็นความพร้อม ที่จะทำ พฤติกรรม ได้ในทันที เมื่อปรากฎ สิ่งเร้า เฉพาะต่อพฤติกรรมนั้น สัญชาติญาณ จึงมีความสำคัญต่อ ความอยู่รอด ของชีวิต ในสัตว์บางชนิด เช่นปลากัดตัวผู้จะแสดงการก้าวร้าว พร้อมต่อสู้ ทันทีที่เห็นตัวผู้ตัวอื่น สำหรับ ใน มนุษย์ สัญชาติญาณ อาจจะไม่แสดงออกมา อย่างชัดเจนในสัตว์ชั้นต่ำ แต่บุคคลสามารถรู้สึกได้ เช่น ความใกล้ชิด ระหว่าง ชายหญิง ทำให้เกิด ความต้องการทางเพศได้ พฤติกรรมนี้ไม่ต้องเรียนรู้ เป็นรูปแบบพฤติกรรมที่ตายตัว แน่นอน ซึ่งกำหนดมา ตามธรรมชาติจาก ปัจจัยทางชีวภาพ ในปัจจุบันการศึกษา สัญชาตญาน เป็นเพียงต้องการ ศึกษา ลักษณะ การตอบสนอง ขั้นพื้นฐาน เพื่อความเข้าใจ พฤติกรรม เบื้องต้นเท่านั้น
1.2.2 ทฤษฎีแรงขับ (Drive Reduction Theory)
แรงขับ (Drive) เป็นกลไกภายในที่รักษาระบบทางสรีระ ให้คงสภาพสมดุลในเรื่องต่าง ๆ ไว้ เพื่อทำให้ ร่างกายเป็น ปกติ หรืออยู่ในสภาพ โฮมิโอสแตซิส (Homeostasis) โดยการปรับระบบให้เข้ากับ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทฤษฎีแรงขับอธิบายว่า เมื่อเสียสมดุลในระบบ โฮมิโอสแตซิส จะทำให้เกิดความต้องการ (Need) ขึ้น เป็นความต้องการทางชีวภาพเพื่อรักษาความคงอยู่ของชีวิต และความต้องการนี้ จะทำให้เกิด แรงขับ อีกต่อหนึ่ง
แรงขับเป็น สภาวะตื่นตัว ที่พร้อมจะทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้กลับคืนสู่สภาพสมดุลเพื่อลดแรงขับนั้น (Drive Reduction) ตัวอย่างเช่น การขาดน้ำในร่างกาย จะทำให้เสียสมดุลทางเคมี ในเลือด เกิดความต้องการเพิ่มน้ำ ในร่างกาย แรงขับ ที่เกิดจากต้องการน้ำคือ ความกระหาย จูงใจให้เราดื่มน้ำหรือหาน้ำมาดื่ม หลังจากดื่มสม ความต้องการแล้ว แรงขับก็ลดลง กล่าวได้ว่า แรงขับผลักดันให้คนเรามีพฤติกรรม ตอบสนอง ความต้องการ เพื่อทำให้ แรงขับ ลดลงสำหรับที่ร่างกาย จะได้กลับสู่ สภาพสมดุล อีกครั้งหนึ่ง
แรงขับ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ แรงขับปฐมภูมิ (Primary Drive) และ แรงขับทุติยภูมิ (Secondary Drive) แรงขับที่เกิดจาก ความต้องการพื้นฐานทางชีวภาพ เช่น ความต้องการอาหาร น้ำ ความต้องการและแรงขับประเภทนี้ เกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องเรียนรู้ เป็นแรงขับ ประเภทปฐมภูมิ ส่วนแรงขับทุติยภูมิ เป็นแรงขับที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ แรงขับประเภทนี้ เมื่อเกิดแล้วจะจูงใจคนให้กระทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการอย่างไม่มีวันสิ้นสุด เช่น คนเรียนรู้ว่า เงินมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับการสนองความต้องการอาหาร ที่อยู่อาศัยและอื่น ๆ อีกมาก การไม่มีเงิน จึงเป็นแรงขับทุติยภูมิสามารถจูงใจให้คนกระทำพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ได้เงินมาตั้งแต่การทำงานหนัก จนถึงการทำ สิ่งที่ผิดกฎหมาย เช่น การปล้นธนาคาร
1.2.3 ทฤษฎีการตื่นตัว (Arousal Theory)
มนุษย์ถูกจูงใจให้กระทำพฤติกรรมบางอย่าง เพื่อรักษาระดับการตื่นตัวที่พอเหมาะ (Optimal level of arousal) เมื่อมีระดับการตื่นตัวต่ำลง ก็จะถูกกระตุ้นให้เพิ่มขึ้น และเมื่อการตื่นตัวมีระดับสูงเกินไปก็จะถูกดึงให้ลดลง เช่น เมื่อรู้สึกเบื่อคน จะแสวงหาการกระทำที่ตื่นเต้น เมื่อตื่นเต้นเร้าใจมานานระยะหนึ่ง จะต้องการพักผ่อน เป็นต้น คนแต่ละคนจะมีระดับการตื่นตัวที่พอเหมาะแตกต่างกัน
การตื่นตัวคือ ระดับการทำงานที่เกิดขึ้นในหลาย ๆ ระบบของร่างกาย สามารถวัดระดับการทำงานนี้ได้จากคลื่นสมอง การเต้นของหัวใจ การเกร็งของกล้ามเนื้อ หรือจากสภาวะของอวัยวะต่าง ๆ ขณะที่หลับสนิทระดับการตื่นตัวจะต่ำที่สุด และสูงสุดเมื่อตกใจหรือตื่นเต้นสุดขีด การตื่นตัวเพิ่มขึ้นได้จากความหิว กระหายน้ำหรือแรงขับทางชีวภาพอื่น ๆ หรือจากสิ่งเร้าที่เข้มข้น รุนแรง เหตุการณ์ไม่คาดหวังไว้ก่อน หรือจากสารกระตุ้นในกาแฟ และยาบางชนิด
การทำงานจะที่มีประสิทธิภาพสูง เมื่อมีระดับการตื่นตัวปานกลาง ระดับการตื่นตัวที่สูงเกินไปจะรบกวนความใส่ใจ การรับรู้ การคิด สมาธิ กล้ามเนื้อทำงานประสานกันได้ยาก เมื่อระดับการตื่นตัวต่ำ คนเราทำงานที่ยากและมีรายละเอียดได้ดี แต่ถ้าเป็นงานที่ง่ายจะทำได้ดีเมื่อระดับ การตื่นตัวสูง คนที่มีระดับการตื่นตัวสูงเป็นนิสัย มักสูบบุหรี่ ดื่มสุรา กินอาหารรสจัด ฟังดนตรีเสียงดัง มีความถี่เรื่องเพศสัมพันธ์ ชอบการเสี่ยงและลองเรื่องใหม่ ๆ ส่วนคนที่มีระดับการตื่นตัวต่ำเป็นปกติ มักมีพฤติกรรมที่ไม่เร้าใจมากนัก ไม่ชอบการเสี่ยง ความแตกต่างในระดับพอเหมาะของการตื่นตัว เกิดจากพื้นฐานทางชีวภาพเป็นเรื่องหลัก และทำให้มีบุคลิกภาพแตกต่างกันไปด้วย
1.2.4 ทฤษฎีสิ่งจูงใจ (Incentive Theory)
ปัจจัยภายนอกหรือสิ่งแวดล้อมที่จูงใจจะดึงดูดให้คนมุ่งไปหาสิ่งนั้น มนุษย์กระทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อแสวงหาสิ่งที่พอใจ (Positive Incentives) เช่น รางวัล คำยกย่อง สิทธิพิเศษ และหลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่พอใจ (Negative Incentives) เช่น ถูกลงโทษ ถูกตำหนิ ทำให้เจ็บกาย การที่คนมี พฤติกรรมแตกต่างกัน หรือพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป ขึ้นอยู่กับความแตกต่างในคุณค่า (Values) ของสิ่งจูงใจ ถ้าคิดว่าการกระทำอย่างใด อย่างหนึ่ง จะได้รับผลคุ้มค่าก็จะมีแรงจูงใจให้บุคคลกระทำอย่างนั้น

รวมพลัง จิตอาสา ต่อเติมกำลังใจช่วยเหลือผู้ป่วย

จากกลุ่มอาสาสมัครที่มี ใจเอื้อเฟื้อประสงค์ช่วยเหลือผู้ อื่นของ โครงการจิตอาสา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ที่ดำเนินการต่อเนื่องมา นอกเหนือจากการส่งเสริมให้ผู้มีใจอาสาได้ร่วมช่วยเหลือผู้ป่วย อำนวยความสะดวกแก่ผู้รับการบริการที่มีจำนวนมากในแต่ละ วันแล้ว การบำเพ็ญประโยชน์โครงการนี้ยังเป็นการปลูกฝังสิ่งดีงามในการช่วยเหลือสังคม

จิตอาสา กลุ่มคนที่มีจิตใจดีมีความตั้งใจจริงพร้อมแบ่งปันความสุขให้กับผู้อื่นซึ่งในโครง การนี้มีผู้สมัครเข้าร่วมทุกเพศทุกวัย รศ.ดร.พรรณวดี พุธวัฒนะ รองคณบดีฝ่ายสร้างเสริมสุขภาพและกิจการสังคม คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลให้ความรู้บอกเล่าโครงการที่มีความหมายนี้ว่า จิตอาสาเปิดรับผู้มีความพร้อม ช่วยเหลือผู้อื่นร่วมในกิจกรรมของทางโรงพยาบาลและจากการเริ่มต้นมากว่าสองปีมีผู้เข้าร่วมหลากหลายกลุ่มและแม้จะมาด้วยใจไม่ได้รับสิ่งใดตอบแทน แต่การให้ความช่วยเหลือนั้นสามารถปฏิบัติได้สอดคล้อง เติมเต็มการดูแล ซึ่งกันและกันแสดงถึงการให้ที่ มีความหมาย ก่อเกิดประโยชน์ กับทุกฝ่าย อีกทั้งยังสร้างความภาคภูมิใจให้กับอาสาสมัคร

รวมพลัง จิตอาสา ต่อเติมกำลังใจช่วยเหลือผู้ป่วยจิตอาสาที่สมัครเข้ามาเวลานี้มีกว่า 300 คน มีตั้ง แต่เด็กนักเรียน หนุ่มสาว วัยทำงาน ผู้สูงอายุวัย 80 ปีก็มี นอกจากกลุ่มดังกล่าว ยังมีผู้ที่มีความสามารถทางดนตรีซึ่งก็มีสมัครมาเป็นนักดนตรีอาสาแสดงความสามารถให้ชมแบ่งปันความสุขให้แก่กันและกัน

หลากหลายกิจกรรมที่จิตอาสามีส่วนร่วมแบ่งปันการช่วยเหลือนั้นเป็นกิจกรรมที่ไม่ก่อเกิดอันตราย ตรงกับความต้องการของผู้ป่วยและหน่วยงาน กิจกรรมที่เกิด ขึ้นจะไม่ซับซ้อนซึ่งคนทั่วไปนั้นสามารถเข้ามาช่วยได้ มีทั้ง การทำงานใกล้ชิดกับผู้ป่วย อย่างการช่วยเหลือพาลงจากรถ ช่วยให้คำแนะนำ ชี้แจงขั้นตอนการบริการ ช่วยชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันโลหิต ฯลฯ ขณะที่การทำงานห่างจากผู้ป่วย ได้แก่ การเตรียมเอกสารปฏิบัติหน้าที่ เตรียมอุปกรณ์ เวชภัณฑ์ปลอดเชื้อ ฯลฯ”


เสียงหนึ่งจากอาสาสมัครจิตอาสาอดีตเจ้าหน้าที่ที่ผูกพันกับโรงพยาบาล ป้าวณี ผู้มีศรัทธาแบ่งปันน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่นบอกเล่าว่า จากที่ทำงานที่นี่หลายแผนกไม่ว่าจะเป็นวอร์ดเด็ก อายุรกรรม ฯลฯ นอกจากมีประสบ การณ์สามารถทำงานร่วมกับบุคลากรของโรงพยาบาลแล้ว การทำงานที่ผ่านมาได้เห็นถึงความทุกข์ ความต้องการของผู้เจ็บป่วย ไม่ว่าจะเป็นกำลังใจ คำแนะนำ 

ขณะที่แต่ละวันมีผู้รับ การรักษาเป็นจำนวนมาก การได้ช่วยแบ่งเบาภาระเจ้าหน้าที่ตามทักษะความถนัดไม่ว่าจะเป็นสิ่งใดก็ตามถือเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง “จิตอาสาในทรรศนะมองว่าเป็นการทำงานด้วยหัวใจ ทำด้วยความตั้งใจโดยไม่หวังว่าจะได้สิ่ง ใดตอบแทนคืนมา ทำแล้วก็มีความสุขอิ่มใจ อย่างในโครงการนี้ พอมีทักษะความรู้เกี่ยวกับเด็ก วัดความดันก็จะช่วยเจ้าหน้าที่ พูดคุยดูแลให้คำแนะนำกับผู้ป่วยในสิ่งที่ช่วยเหลือได้”

รวมพลัง จิตอาสา ต่อเติมกำลังใจช่วยเหลือผู้ป่วยส่วนอีกเสียงจิตอาสาจากฝั่งเยาวชน น้องตั๊กและน้องแนท บอกเล่าประสบการณ์การเป็นจิตอาสาใช้เวลาช่วงปิดเทอมช่วยเหลือผู้ป่วยว่า เพิ่ง เข้าร่วมเป็นอาสาสมัครได้ไม่นานแต่ก็ประทับใจทั้งการได้ช่วยเหลือผู้อื่น ช่วยพี่เจ้าหน้าที่ทำงานซึ่ง แต่ละวันที่มาเป็นอาสาสมัครได้เห็นผู้ป่วยจำนวนมากรอรับการรักษา

“การร่วมเป็นอาสาสมัครนอกจากเป็นผู้ช่วยพี่พยาบาลทดลองทำงานต่าง ๆ ได้พูดคุยกับคนไข้ให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย ฯลฯ เป็นอีกประสบการณ์ที่มีค่า อีกทั้งเป็นโอกาสดีที่ได้แบ่งปันความสุขช่วยเหลือผู้อื่น ใช้เวลาช่วงปิดเทอมอย่างคุ้มค่า” และด้วยความมุ่งมั่นให้บริการสังคมในด้านการแพทย์และสาธารณสุขของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี นอกจากโครงการจิตอาสาที่กล่าวมา จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ได้รวมกลุ่มคนอาสาทั้ง ศิลปิน กลุ่มเด็กและเยาวชนอาสามูลนิธิดำรงชัยธรรม ประชาชนอาสาร่วมกับมูลนิธิรามาธิบดีจัด โครงการจิตอาสาเพื่ออาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ ขึ้นเพื่อรณรงค์รับบริจาคสมทบทุนสร้างอาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ ศูนย์การแพทย์ครบวงจรแห่งใหม่เป็นความหวังของคนไทย

จากกิจกรรมนำร่องศิลปินเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคสมทบทุนการจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ สร้างอาคาร ฯลฯ ในโครงการต่อเนื่องที่ผ่านมาศิลปินได้ร่วมทำหน้าที่จิตอาสาแนะนำให้กำลังใจผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยที่มาใช้บริการในโรงพยาบาลรามาธิบดี โดยมุ่งเน้นการให้ความสำคัญกับ ผู้ป่วย การดูแล และสร้างความเข้าใจอันดีกับทุกคน เนื่องจาก การเข้ารับการบริการในโรงพยาบาลอาจได้รับความสะดวกไม่เพียงพอจากกลุ่มคนที่มาใช้บริการจำนวนมาก 

จิตอาสาเหล่านี้จึงทำหน้าที่ช่วยต้อนรับ รับลงทะเบียน ให้คำแนะนำเบื้องต้น ช่วยเข็นรถ ช่วยเหลือผู้ป่วยเท่าที่จะสามารถทำได้ รวมถึงการเข้าเยี่ยมให้ กำลังใจผู้ป่วยต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด ถึงเตียงคนไข้ พร้อมกับให้กำลังใจในฐานะจิตอาสาบำบัดผ่านการ พูดคุยและส่งมอบกำลังใจ ดูแลด้านจิตใจ หนึ่งในศิลปินจิตอาสานิโคล เทริโอ บอกเล่าว่า ทุกครั้งที่คุณให้คือการให้ชีวิตซึ่งทุกคนต่างก็รักในชีวิตและดีไม่น้อยถ้า ทุกคนร่วมมือร่วมใจกัน ทุกท่านสามารถเป็นส่วนหนึ่งของน้ำใจเหล่านี้ได้ นอกจากนี้ยังมีเสียงจาก เยาวชนอาสามูลนิธิดำรงชัยธรรม ที่ร่วมบอกเล่าความรู้สึกว่า จิตอาสาเป็นกิจกรรมดี ๆ เพื่อสังคมซึ่งทุกคนสามารถมีส่วนร่วมทำ สิ่งดีงามนี้ได้ โดยใช้ใจที่มีความ มุ่งมั่นตั้งใจช่วยเหลือผู้อื่นเป็น การสร้างประโยชน์ที่มีคุณค่าให้แก่กันและกัน

รวมพลัง จิตอาสา ต่อเติมกำลังใจช่วยเหลือผู้ป่วยในครั้งนี้ที่ได้ร่วมเดินรณรงค์กับพี่ ๆ ศิลปินได้พูดคุย กับผู้ป่วยได้เห็นถึงมิติของการให้ การแบ่งปันความช่วยเหลือผู้อื่นซึ่งจะนำประสบการณ์ที่ดีเหล่านี้บอกเล่ากับเพื่อน ๆ ร่วมกันเป็นอาสาสมัครจิตอาสา เป็นการเอื้อเฟื้อกันในสังคม

ด้วยจิตอาสาที่ไม่เพียงมีความหมายช่วยเหลือผู้ป่วย หากแต่ยังมีความหมาย ความสำคัญต่อการให้ การแบ่งปันเสียสละสร้างความเข้มแข็งสิ่งดีงามให้กับสังคม ซึ่งทุกคนมีส่วนร่วมสร้างสิ่งนี้ให้เกิดขึ้นได้.

จิตอาสากลุ่มคนที่มีจิตใจดี มีความตั้งใจจริงพร้อมแบ่งปันความสุขให้กับผู้อื่น ในโครงการนี้มีผู้สมัครเข้าร่วมทุกเพศทุกวัยและนอกเหนือจากการส่งเสริมให้ ผู้มีใจอาสา ช่วยเหลือผู้ป่วย อำนวยความสะดวกแก่ผู้รับการบริการ การบำเพ็ญ ประโยชน์ยังเป็นการปลูกฝังสิ่งดีงามในการช่วยเหลือสังคม

แนวคิดพื้นฐาน,ทฤษฎีจิตวิทยา