วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

ประวัติความเป็นมาของจิตวิทยา


จิตวิทยาได้เริ่มขึ้นโดยนักปราชญ์ชาวกรีก ชื่อ เพลโต และอริสโตเติล เพลโตเชื่อว่าการคิดและการใช้เหตุผลเท่านั้น ที่ทำให้คนเกิดความเข้าใจในสิ่งที่เขาสามารถจะเข้าใจได้ โดยไม่สนใจวิธีการสังเกตหรือการทดลองใด ๆ แต่อริสโตเติลกลับเป็นนักสังเกตสิ่งรอบตัว เขาสนใจสิ่งภายนอกที่มองเห็นได้ การเข้าใจปรากฏการณ์ตามธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับคนต้องเริ่มด้วยการสังเกตอย่างมีระบบ
ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ศาสนาเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยแนวคิดทางศาสนาเน้นว่าจิตเป็นส่วนที่แยกออกจากร่างกาย
ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 การฟื้นฟูการสืบสวนโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการละทิ้งความเชื่อแบบเดิม ๆ มีการค้นหาความรู้ใหม่ ๆ วิธีการก็เริ่มมีลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์ ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอนกล่าวว่า “ทฤษฎีให้แนวทาง การวิจัยให้คำตอบ” โดยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญระหว่างทฤษฎีและการวิจัย
กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีกลุ่มแนวคิดที่สำคัญเกิดขึ้น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มประจักษ์นิยมชาวบริเตน (British Empiricism) ที่เชื่อว่า ความรู้ผ่านเข้ามาทางสื่อกลางของความรู้สึก จิตเป็นที่รวมของความคิดเห็น นักจิตวิทยากลุ่มนี้มีบทบาทสำคัญต่อการเกิดจิตวิทยากลุ่มสัมพันธนิยม (Associationistic Psychology) นักจิตวิทยาอีกกลุ่มหนึ่งกลับสนใจทางชีวภาพ เช่น ความแตกต่างระหว่างประสาทส่วนรับความรู้สึกกับประสาทส่วนการเคลื่อนไหว และ ลักษณะทางกายที่แสดงปฏิกิริยาสะท้อน (reflex) นักจิตวิทยากลุ่มนี้พยายามอธิบายการกระทำของมนุษย์ด้วยหลักการทางฟิสิกส์ คือ จิตฟิสิกส์ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้วัดความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพของสิ่งเร้ากับประสบการณ์รู้สึกที่ผู้ที่ถูกเร้ารายงานออกมา

[แก้]การขยายตัวทางจิตวิทยา

ห้องปฏิบัติการทดลองทางจิตวิทยาห้องแรก ถูกสร้างขึ้นโดย Wilhelm Wundt ในปี ค.ศ. 1879 ที่เมืองไลป์ซิก ประเทศเยอรมนี โดยมีการจัดตั้งกลุ่มจิตวิทยาขึ้น คือ กลุ่มโครงสร้างนิยม (Structuralism) การศึกษาจิตต้องศึกษาส่วนย่อย ๆ ที่ประกอบขึ้นมา ใช้วิธีการพื้นฐานทางจิตวิทยา คือ การสังเกตตนเอง หรือที่เรียกว่า การตรวจพินิจจิต (Introspection)
ในปี ค.ศ. 1890 ได้มีการจัดตั้งกลุ่มจิตวิทยาขึ้นใหม่อีก คือ กลุ่มหน้าที่นิยม (Functionalism) นักจิตวิทยากลุ่มนี้เห็นว่า จิตวิทยาควรเป็นการศึกษาวิธีการที่คนเราใช้ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นวิธีการที่บุคคลนั้นพอใจ และเป็นการเพิ่ม ประสิทธิภาพของบุคคลนั้นด้วย นักจิตวิทยากลุ่มนี้ให้ความสนใจ ความรู้สำนึก (consciousness) เพราะความรู้สำนึกเป็นเครื่องมือที่ทำให้บุคคลเลือกกระทำพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ความรู้สำนึกเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกัน ไม่สามารถแยกวิเคราะห์เป็นส่วนย่อยได้ นักจิตวิทยากลุ่มนี้สนใจศึกษาสาเหตุของพฤติกรรมมากกว่าการศึกษาพฤติกรรมที่ปรากฏออกมา ให้เห็น
ในช่วงเวลาเดียวกัน ซิกมุนด์ ฟรอยด์ ได้เสนอทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic theory) โดยมีวิธีการศึกษา จากการสังเกตและรวบรวมประวัติคนไข้ที่มารับการบำบัดรักษา ฟรอยด์เชื่อว่าความไร้สำนึกมีอิทธิพลต่อการแสดงออกของพฤติกรรม และเน้นถึงความต้องการทางเพศตั้งแต่วัยเด็ก
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 จอห์น บี วัตสัน ได้ก่อตั้ง กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behavioralism) โดยเห็นว่า การตรวจพินิจจิตเป็นวิธีการที่ไม่ดีพอ การศึกษาจิตวิทยาควรจะหลีกเลี่ยงการศึกษาจากความรู้สำนึก แล้วหันไปศึกษา พฤติกรรมที่มองเห็นได้ เพื่อให้สามารถทำนายและควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ได้ และเน้นถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมว่ามี อิทธิพลต่อพฤติกรรมมากกว่าพันธุกรรมอีกด้วย
ในช่วงเวลาเดียวกัน ประเทศเยอรมนีได้เกิดกลุ่มจิตวิทยาขึ้น ได้แก่ จิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt Psychology) แนวคิดของจิตวิทยากลุ่มนี้เน้นว่า การทำงานของจิตเป็นการทำงานของส่วนรวม ดังนั้นจึงสนใจศึกษาส่วนรวมมากกว่าส่วน ย่อย แนวคิดนี้เริ่มมีบทบาทขึ้นเมื่อนักจิตวิทยาชาวอเมริกันเริ่มให้ความสนใจในปัญหาของการรับรู้ การคิดแก้ปัญหาและ บุคลิกภาพ จนนำไปสู่การเกิดขึ้นของกลุ่มจิตวิทยาการรู้การเข้าใจ(Cognitive psychology) ซึ่งเกี่ยวข้องกับกลไกภายใน ที่มีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมของบุคคล และต่อจากนั้นมา จิตวิทยาก็เป็นที่สนใจของบุคคลทั่วไปและนิสิตนักศึกษามาก ขึ้นเรื่อยๆ

จิตวิเคราะห์

จิตแพทย์ชาวออสเตรียเชื้อสายยิว คือ น.พ. ซิกมันด์ ฟรอยด์ ได้พัฒนาวิธีการบำบัดทางจิตเรียกว่าจิตวิเคราะห์ การศึกษาของฟรอยด์เป็นการรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต และแปลความหมายพฤติกรรมของคนไข้ของเขา การศึกษาของเขาส่วนมากเป็นการทำความเข้าใจจิตไร้สำนึก การเจ็บป่วยทางจิต และจิตพยาธิวิทยา ทฤษฎีของฟรอยด์เป็นทฤษฎีทางจิตวิทยาที่นำมาใช้อธิบายพัฒนาการทางพฤติกรรมของมนุษย์ และได้กลายเป็นทฤษฎีที่รู้จักและถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง เพราะเรื่องที่เขาศึกษานั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องทางเพศ การเก็บกดอารมณ์ทางเพศ และจิตไร้สำนึก ซึ่งในช่วงเวลานั้นเรื่องเหล่านี้ถือเป็นสิ่งต้องห้ามในสังคม แต่ฟรอยด์ก็สามารถทำให้การศึกษาของเขาเป็นประเด็นสำหรับการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสุภาพได้

[แก้]จิตวิทยาในประเทศไทย

หลายคนเชื่อว่าจิตวิทยาเกิดขึ้นในโลกเมื่อ 2,500 กว่าปีมาแล้ว นั่นคือ จิตวิทยาทางพระพุทธศาสนา นั่นเอง สำหรับในประเทศไทยนั้น เพิ่งมีหลักฐานปรากฏว่ามีการสอนวิชาจิตวิทยาในโรงเรียนฝึกหัดครูปฐม ในช่วงเวลาก่อนปี พ.ศ.2473 เล็กน้อย และในปี พ.ศ.2473 ก็มีการสอดแทรกเนื้อหาจิตวิทยาเป็นวิชาหนึ่งในวิชาการสอนวิชาครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2507 ประเทศไทยมี ภาควิชาจิตวิทยา' ที่เปิดการเรียนการสอนอย่างเป็นทางการ ในระดับชั้นปริญญาตรีขึ้นในประเทศไทยเป็นแห่งแรก ที่ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเป็นหลักสูตร 4 ปี เมื่อศึกษาสำเร็จแล้วจะได้วุฒิ "ศิลปศาสตรบัณฑิต(จิตวิทยา)"
กระทรวงศึกษาธิการด้วยความช่วยเหลือขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้จัดตั้ง สถาบันระหว่างชาติสำหรับการค้นคว้าเรื่องเด็กขึ้นในวิทยาลัยวิชาการศึกษา (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) ซึ่งนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่วิชาเกี่ยวกับจิตวิทยาเด็ก ต่อมามีการศึกษาที่กว้างขวางมากขึ้น ใน สถาบันอื่นก็ได้เปิดหลักสูตรวิชาจิตวิทยาในหลายสาขา ในปัจจุบันและในอนาคต มีการคาดหวังไว้ว่าจิตวิทยาในประเทศไทย จะเจริญก้าวหน้า ช่วยพัฒนาทรัพยากรบุคคลของชาติต่อไป

[แก้]อ้างอิง

1 ความคิดเห็น: