วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

จิตวิทยาเกี่ยวกับสี

 ความรู้เบื้องต้น : จิตวิทยาเกี่ยวกับสี 
 
สีนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งในการออกแบบเว็บไซต์ ในการทำงานกราฟฟิคต่างๆ การเลือกสีให้เข้ากับเนื้อหาของงาน จะทำให้งานที่ทำออกมามีความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น และยังส่งผลอย่างมากกับความสวยงามของงานที่ออกมาด้วย

ความรู้สึกที่คนส่วนใหญ่มีต่อสีต่างๆ
  
สีฟ้า
  
ให้ความรู้สึกสงบ สุขุม สุภาพ หนักแน่น เคร่งขรึม เอาการเอางาน ละเอียด รอบคอบ สง่างาม มีศักดิ์ศรี สูงศักดิ์ เป็นระเบียบถ่อมตน
สามารถลดความตื่นเต้น และช่วยทำให้มีสมาธิ แต่ถ้ามีสีน้ำเงินเข้มเกินไป ก็จะทำให้รู้สึกซึมเศร้าได้
 
สีเขียว
  
เป็นสีในวรรณะเย็น จะสร้างความรู้สึกเย็นสบาย ใช้เป็นสีที่ช่วยผ่อนคลายความเครียดได้ ให้ความรู้สึก สงบ เงียบ ร่มรื่น ร่มเย็น การพักผ่อน การผ่อนคลาย ธรรมชาติ ความปลอดภัย ปกติ ความสุข ความสุขุม เยือกเย็น
 
สีเหลือง
  
เป็นสีแห่งความเบิกบาน เร้าอารมณ์ และเรียกร้องความสนใจ ให้ความรู้สึกแจ่มใส ความสดใส ความร่าเริง ความเบิกบานสดชื่น ชีวิตใหม่ ความสด ใหม่ ความสุกสว่าง การแผ่กระจาย อำนาจบารมี  ให้ลองสังเกตดูว่า วันที่ท้องฟ้ามืดครื้มปราศจากแสงแดด เราจะรู้สึกหงอยเหงา หดหู่ แต่พอมีแสงแดด ท้องฟ้าสว่าง มีสีเหลือง เราจะรู้สึกมีชีวิตชีวาขึ้น
 
สีแดง
  
เป็นสีที่สร้างความตื่นเต้น และกระตุ้นสมอง สีแดงปานกลางแสดงถึงความมีสุขภาพดี ความมีชีวิต ความรัก ความสำคัญ ความอุดมสมบูรณ์ ความมั่งคั่ง สีแดงจัดมีความหมายแฝงด้านกามารมณ์ นอกจากนี้สีแดงยังสร้างความรู้สึกรุนแรง ให้ความรู้สึกร้อน กระตุ้น ท้าทาย เคลื่อนไหว ตื่นเต้น เร้าใจ มีพลัง มันจะใช้กันกรณีที่เกี่ยวกับความตื่นเต้น หรืออันตราย
 
สีม่วง
  
ให้ความรู้สึก มีเสน่ห์ น่าติดตาม เร้นลับ ซ่อนเร้น มีอำนาจ มีพลังแฝงอยู่ ความรัก ความเศร้า ความผิดหวัง ความสงบ ความสูงศักดิ์
เป็นสีที่ปลอบโยน และช่วยลดความเครียด แต่เดิมสีม่วงได้มาจากสัตว์มีกระดอง,เปลือก ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีชื่อว่า Purpura จึงได้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Purple
 
สีส้ม
  
ให้ความรู้สึก ร้อน ความอบอุ่น ความสดใส มีชีวิตชีวา วัยรุ่น ความคึกคะนอง การปลดปล่อย ความเปรี้ยว การระวัง เป็นสีที่เร้าความรู้สึก ปรกติควรใช้แต่น้อยเมื่อเทียบกับสีอื่น สังเกตว่าคนที่อยู่ในห้องสีส้มจะอยู่ได้ไม่นาน
 
สีน้ำตาล
  
ให้ความรู้สึกอบอุ่น ได้พักผ่อน แต่ควรใช้ร่วมกับสีส้ม เหลือง หรือสีทอง เพราะถ้าใช้สีน้ำตาลเพียงสีเดียว อาจทำให้เกิดความรู้สึกหดหู่ได้
 
สีเทา
  
ให้ความรู้สึก เศร้า อาลัย ท้อแท้ ความลึกลับ ความหดหู่ ความชรา ความสงบ ความเงียบ สุภาพ สุขุม ถ่อมตน สีนี้มีข้อดีคือทำให้เย็น แต่สร้างความสร้างความรู้สึกหม่นหมองได้ ควรใช้ร่วมกับสีที่มีชีวิต โทนสว่างอย่างน้อยหนึ่งสี
 
สีขาว
  
 ให้ความรู้สึก บริสุทธิ์ สะอาด สดใส เบาบาง อ่อนโยน เปิดเผย การเกิด ความรัก ความหวัง ความจริง ความเมตตา ความศรัทธา ความดีงาม  ให้ความรู้สึกรื่นเริง โดยเฉพาะเมื่อใช้กับสีแดง เหลือง และส้ม

จิตวิทยากับความรัก

         อเอ่ยถึงคำว่า รัก’ มักมีคำถามเชยๆ (หรือไม่เชย แต่เป็นคำถามอมตะ) ที่ถามกันเรื่อยมาว่า ความรักคืออะไร?
คนโสดหัวใจยังไม่เคยมีคู่ทั้งหลายได้ยินเข้าคงได้แต่แสบๆ คันๆ ที่กลางใจเพราะอยากมีส่วนร่วมในการบอกกล่าว แต่จะพูด
ไปมันก็ไม่ใช่เรื่องของเรา เช่นนั้นก็ปล่อยให้คนมีรัก และเคยมีรักไปแสดงความเห็นกันเองดีกว่าเป็นไหนๆ บางคู่ก็ว่ารักคือ
การให้ บางคู่ว่ารักคือการเสียสละ บ้างว่าเป็นเรื่องความเข้าใจ และบ้างก็ว่าเป็นเรื่องความผูกพัน ฯลฯ
 
            ทั้งหลายทั้งมวลที่ยกตัวอย่างมา เป็นนิยามรักตามแบบฉบับที่เรามักจะได้ยินกันบ่อยๆ แต่แท้จริงแล้ว ความหมาย
ของคำว่า 
รัก’ ที่ตายตัวนั้นเป็นอย่างไร ก็ยังไม่เคยมีใครกล้าฟันธงกันสักที...    
            ตามพจนานุกรมภาษาอังกฤษ รัก’ มีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษว่า to love, to care for, to be fond of [2] 
ซึ่งหมายถึง to feel love, desire, or strong friendship 
[3] นั่นคือ ความรู้สึกรัก ซึ่งรวมถึงความปรารถนา ตลอดจน
สัมพันธภาพที่เข้มแข็งระหว่างบุคคล
 
            สำหรับความรักตามหลักจิตวิทยานั้น อีริคสัน (Erickson[4]) ได้อธิบายถึง ความรักความห่วงใย ไว้ว่าเป็นพฤติกรรม
ที่แสดงออกแล้วทำให้อีกฝ่ายมีความสบายใจ อบอุ่นใจ ความรักเป็นความสัมพันธ์ทางอารมณ์ระหว่างบุคคล มิใช่เพียงความ
ต้องการทางร่างกาย ความรักไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่ความรักเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้
 
            การมีความรักควรจะเริ่มพัฒนาจากการรักตนเองก่อน และเป็นธรรมดาที่เมื่อเรารักใครแล้ว เราย่อมต้องการความ
พึงพอใจ มีความซื่อตรงจงรักภักดี และยินดีให้ความช่วยเหลือจากเขา แต่ก็มิใช่ว่าเราจะเป็นฝ่ายเสียสละแต่เพียงผู้เดียว 
 
            ความรักตนเองทำให้เรารักคนอื่นเป็น ความรักตนเองย่อมตรงกันข้ามกับความเห็นแก่ตัว ผู้ที่มีความรักย่อมมี
ทัศนคติที่จะเอื้อเฟื้อรับผิดชอบ นับถือ เข้าใจผู้ที่เรารัก ไม่ดูดายต่อความต้องการ และการแสดงออกของอีกฝ่ายหนึ่ง 
รวมทั้งควรมองเขาอย่างเป็นกลาง เข้าใจเขาอย่างถ่องแท้ รู้ซึ้งถึงความต้องการและความจำเป็นของเขา พร้อมที่จะให้อภัยกัน
เสมอ โดยที่ทั้งสองฝ่ายต้องเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับในขณะเดียวกันทั้งคู่
[5]
 
            แล้วคำถามยอดฮิตต่อไปที่ตามมาก็คือ ... ความรักเกิดขึ้นได้อย่างไร?’ … เป็นไปได้ไหมที่การมีความรักไม่
เกี่ยวข้องกับเหตุผลอะไรเลย แต่อาจเกิดจากสิ่งที่ฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกมาตั้งนานแล้ว เช่น เคยรักใครชอบพอกันตั้งแต่สมัยที่
ยังเป็นเด็ก ก็เลยรักต่อเนื่องมาจนโต ประมาณว่ามีรักแรกมาตั้งนานแล้วแต่เพิ่งจะมาค้นพบใจตนเอง
!
 
            ประการต่อมา ความรัก อาจเกิดจากความประทับใจครั้งแรก (First impression) ในคุณสมบัติทางกาย เช่น 
รูปสมบัติและคุณงามความดีอื่นๆ หรืออาจจะเป็นเพราะความใกล้ชิดสนิทสนมกัน ความสงสาร ความเป็นผู้มีอุปการคุณ 
ความแตกต่างของฮอร์โมนเพศในร่างกายของแต่ละคน ความแตกต่างของขั้วไฟฟ้าสถิตในบุคคลแต่ละเพศ คลื่นรัศมีที่เปล่งออก
จากร่างกาย หรืออาจเป็นเพราะบุพเพสันนิวาส (ที่ดลบันดาลให้คู่อาละวาดมาพบกัน...ฮา) แล้วรักของคุณเกิดขึ้นได้อย่างไร 
พอจะจำกันได้หรือไม่คะ

            ทีนี้เมื่อเกิดความรักขึ้นมาในหัวใจของแต่ละคนแล้ว เคยสังเกตกันหรือไม่ว่า ทำไมบางครั้งถึงได้รู้สึกเป็นสุข เป็นทุกข์
เป็นห่วง อยากจะนึกหาสารพัดวิธีดีๆ มาทำให้คนที่เรารักประทับใจขึ้นมาได้อย่างน่าประหลาด นั่นเป็นเพราะคนที่มีความรักมัก
มีความผูกพันทางอารมณ์ 
3 ประการด้วยกัน คือ  
 
            1. ด้านความรู้สึก เป็นความรู้สึกรักใคร่ รู้สึกชอบ รู้สึกเป็นสุขที่ได้อยู่ใกล้ ทุกข์ใจเมื่อยามห่าง
2. ด้านความคิด เป็นการมองคนที่เรารักในแง่ดี มองเห็นคุณค่าและความหมายของเขา อยากทำสิ่งที่ดีให้และ
ปรารถนาที่จะให้เขาพบแต่ความสุข
            3. ด้านการกระทำ เป็นการปฏิบัติต่อกันอย่างอ่อนโยน การดูแลเอาใจใส่ การสัมผัส กอดจูบและมีเพศสัมพันธ์
 
เช่นนั้น พฤติกรรมที่กล่าวถึงในข้างต้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับคนกำลังมีความรัก เพราะเมื่อความรักได้เกิดขึ้นแล้ว
ระหว่างคนสองคน พวกเขาก็จะแสดงออกถึงความรักที่มีให้แก่กันและกัน ซึ่งการแสดงออกนี้อยู่บนพื้นฐานของอารมณ์ อันจะ
แสดงออกมาทางความรู้สึก ความคิด และการกระทำต่อคู่รักด้วยกัน

            คนที่เคยมีความรักทราบหรือไม่ว่า 
ความรัก’ ประกอบด้วย ความใกล้ชิดผูกพัน (Intimacy) การอุทิศตน 
(
Commitment) และอารมณ์รัก (Passion)
[6] นั่นคือคนที่มีความรักจะมีความรู้สึกว่าอยากใกล้ชิดสนิทสนมกับคนรัก มีความ
ผูกพันและมีความรู้สึกร่วมกับบุคคลอันเป็นที่รักเมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์ต่างๆ โดยรู้สึกเท่ากับว่าเป็นเรื่องของตนเอง และ
สามารถถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของกันและกันได้ รวมทั้งจะมีความรู้สึกเทิดทูน นับถือ และศรัทธาในคนรักของตน

            การตรวจสอบในเบื้องต้นว่าเราได้พบรักแล้วหรือยัง อาจใช้วิธีการสำรวจตนเองว่า 
มีอารมณ์รักเกิดขึ้นหรือเปล่า?” ผู้ที่พบรักและกำลังอยู่ในห้วงแห่งความรัก จะมีอารมณ์รักซึ่งเป็นความรู้สึกภายในใจที่เป็นความปรารถนา เป็นแรงผลักดันที่
จะดึงดูดหญิงชายเข้าหากัน อารมณ์รักแสดงออกมาในรูปของความรู้สึกโรแมนติก และมีความรู้สึกว่าต้องการใกล้ชิดทางด้าน
กายภาพกับบุคคลอันเป็นที่รัก รวมทั้งการมีเพศสัมพันธ์ด้วย

            ในการศึกษาความคิดเห็นของคู่รักหลายๆ คู่ พบว่า ความรักถูกเลือกให้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของการมี
สัมพันธภาพรักที่มีความสุข นอกจากนี้ ผลการวิจัยยังพบอีกว่าคู่รักที่มีความรู้สึกรักใคร่ต่อกันในระดับสูง เมื่อแต่งงานก็จะมี
ความพึงพอใจในชีวิตสมรสในระดับสูงอีกด้วย

            แต่การจะประคับประคอง 
ความรัก’ ให้เป็นรักเดียวที่มั่นคง คงทน และถาวร จนความรักสุกงอมหอมหวาน ทั้งสอง
ฝ่ายควรมองหามองเห็นคุณค่าและส่วนดีของอีกฝ่ายหนึ่ง ในที่นี้มิได้หมายถึง การมองว่าอีกฝ่ายหนึ่งดีเลิศแบบชายหรือหญิง
ในอุดมคติซะทีเดียว แต่หมายถึงการมองและยอมรับสภาพความเป็นจริงที่เขาและเธอต่างเป็น 
 
ปัญหาที่พบบ่อยสำหรับคู่รักหลายๆ คู่ที่ต้องบายรักแรก แล้วต้องไปแสวงหารักครั้งใหม่คือ การมองข้ามสิ่งที่ดีของ
อีกฝ่ายหนึ่งไป และมองเห็นเพียงข้อบกพร่องในคู่รักของตนเท่านั้น 
 
            ซึ่งปัญหานี้ เรามีวิธีแก้ไขได้ง่ายๆ ด้วยการมองเห็นคุณค่าและส่วนดีของบุคคลอันเป็นที่รักของเรา โดยใช้คำพูด
หรือการกระทำเพื่อบ่งบอกว่าเราเห็นคุณค่าในตัวเขา เช่น แม้ฝ่ายหญิงจะไม่มีฝีมือในการทำอาหารหรือที่เรียกกันทั่วๆ ไปว่า
ไร้เสน่ห์ปลายจวัก แต่ฝ่ายชายก็ยังคงยืนยันที่จะทานอาหารที่คนรักของเขาทำให้เท่านั้น ด้วยเหตุผลสุดจะตื้นตันว่าอาหารที่
อร่อยที่สุดคือ อาหารที่ปรุงรสจากมือเธอ ในมุมกลับเมื่อเขายอมและอดทนเพื่อเธอได้ ฝ่ายหญิงก็ควรจะหาโอกาสพูดหรือมี
การกระทำที่แสดงความขอบคุณในสิ่งดีๆ ที่อีกฝ่ายหนึ่งทำให้เช่นกัน การแสดงออกซึ่งความรัก อย่างการสัมผัสหรือการโอบ
กอดก็ยังเป็นพฤติกรรมสามัญที่แสดงให้คนที่เรารักรู้ได้ว่า เรายังคงความสำคัญในกันและกันอยู่... 

             หลายคนพบสัจธรรมที่ว่า 
 กว่าจะพบคนถูกใจ ก็ได้ใช้เวลาไปมาก แต่การจะรักษาความรักที่ผ่านเข้ามาในชีวิตให้มี 
ความหอมหวานเหมือนช่วงแรกที่พบกันนั้น มันแสนจะยากเย็นกว่าหลายเท่านัก

 

[1] อาจารย์ประจำภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
[2] So Sethaputra. (2542). New Model Thai-English Dictionary. Volumn II (ป-ฮ). กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
[3] Longman Dictionary of Contemporary English. (1989).
[4] เชาวลิต สถากร. (2544). อ้างอิงมาจาก Erickson (1993)
[5] กิตติพัฒน์ สุขประสิทธิ์. (2548). บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ และทัศนคติด้านความรักของคู่สมรสที่มีความสุขในชีวิตสมรส
ต่างกัน.  ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.จิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพฯ บัณฑิตวิทยาลัย.
[6] เชาวลิต สถากร.  (2544). ความสัมพันธ์ของหลักทิศ 6 กับความรัก และความผูกพันของคู่สมรสของพนักงานต้องรับบน
เครื่องบินของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. กรุงเทพฯ บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ความก้าวร้าว

เรื่องความก้าวร้าว

สตอรร์ กล่าวว่า แรงขับก้าวร้าว (aggressive drive) มีความจำเป็นต่อชีวิตเพราะทำหน้าที่พื้นฐานทางชีววิทยา เพื่อสงวนและดำรงไว้ซึ่งชีวิตของบุคคลและเผ่าพันธุ์มนุษยชาติ ไม่แตกต่างจากสัญชาตญาณทางเพศ (sexual instinct) ไม่จำเป็น, ไม่ควร และ เป็นไปไม่ได้ ที่จะขจัดความก้าวร้าวในรูปแบบที่เหมาะสมออกไปจากชีวิตมนุษย์โดยสิ้นเชิง เพราะนอกจากจะเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติที่มีติดตัวมนุษย์มาแต่กำเนิดแล้ว ความก้าวร้าวในมนุษย์ยังเป็นลักษณะที่มีค่ายิ่งทางชีววิทยา เช่นเดียวกับความก้าวร้าวในสัตว์ชนิดอื่น ความก้าวร้าวในธรรมชาติมีไว้ป้องกันตนเอง เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ มากกว่า เพื่อทำลาย สิ่งที่ควรขจัดไม่ใช่ความก้าวร้าว แต่เป็น “การทำลายเยี่ยงศัตรู” ในลักษณะของ “ความรุนแรง” (violence)
ถ้าเรานึกถึงความก้าวร้าวในแง่สัญลักษณ์ของความชั่วร้ายเพียงประการเดียว เราก็จะกดเก็บไว้โดยสิ้นเชิง ซึ่งจะยิ่งทำให้แปรออกในรูปอื่นมากขึ้น โดยการใช้จิตกลไกต่าง ๆ เช่น ออกในรูปของความเศร้า เพราะใช้จิตกลไกชนิดหันเข้าหาตน (introjection) หรือออกเป็นอาการทางจิตสรีรวิทยา (psychophysiologic) จนเกิดอาการทางกายต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่เกิดผลเสียทั้งสิ้น
ประวัติจากวัยเยาว์ จนถึงอายุ 19 ปี จากเอกสารรายงาน เอฟ.บี.ไอ และ รายงานจากคุกแสดงชัดเจนว่า นักโทษชาย 10 คน ที่มีประวัติก่อคดีร้ายแรงกว่า และก้าวร้าวมากกว่าเมื่อครั้งที่เขาอยู่ในวัยรุ่น มีระดับเทสโทสตีโรนสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติซึ่งเป็นการแสดงว่าเทสโทสตีโรนอาจมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงทางอาชญากรรมในวัยเด็กจนถึงวัยรุ่น
เมื่อกล่าวถึงความก้าวร้าวในทางทำลาย คนทั่วไปมักนึกถึงการทำลายผู้อื่นหรือสิ่งอื่นเสมอ ซึ่งเป็นลักษณะที่ก้าวร้าวพุ่งออกสู่ภายนอก แต่แท้จริงความก้าวร้าวอาจหันกลับเข้าหาบุคคลนั้นเองหรือพุ่งหาตนก็ได้ ทำให้คนนั้นเกิดอาการซึมเศร้า ซึ่งอาจรุนแรงจนถึงขั้นฆ่าตัวตาย ซึ่งก็คือ การก้าวร้าวอย่างทำลายเช่นกัน คือ ทำลายตนเอง
ความก้าวร้าวชนิดทำลายตนเองที่พบบ่อยตามหน้าหนังสือพิมพ์ มักเกิดในหนุ่มสาวหรือวัยรุ่น ซึ่งผิดหวังในความรักแล้วยิงตัวตาย หรือกินยาตาย
นักจิตวิเคราะห์หลายคน รวมทั้งสตอรร์ กล่าวว่า ความนับถือและความภูมิใจในตน (self-esteem) ของมนุษย์เรานี้ ส่วนใหญ่ได้มาแต่วัยเด็ก ถ้าหากมีปัญหาทางอารมณ์ในวัยเด็ก ซึ่งขัดขวางไม่ให้พัฒนาการไปจนถึงระยะความเป็นชายหรือหญิงได้อย่างสมบูรณ์ พอที่จะสามารถรักใครและมีใครรักได้ เขาผู้นั้นก็จะขาดบ่อเกิดของความนับถือและภูมิใจในตน
ความรักนี้สำคัญยิ่งนักที่จะทำให้คนเราเกิดความนับถือและภูมิใจในตน


ฉะนั้น เมื่อผิดหวังในความรัก เขาผู้นั้นจึงรู้สึกเหมือนตนถูกโจมตีอย่างหนัก คนที่ขาดความมั่นคงทางใจจะพึ่งพาผู้อื่นมากกว่า และมีปฏิกิริยาต่อการถูกปฏิเสธความรักในทางเพศรุนแรงกว่าคนปกติ ซึ่งได้ความนับถือและภูมิใจในตนมาเพียงพอแล้วจากความรักของบิดามารดา คนเหล่านี้แม้จะถูกทำให้ช้ำใจและโกรธเพราะ ถูกปฏิเสธรัก ก็จะสามารถปรับจิตใจให้กลับคืนสู่สภาพปกติและหาคู่ใหม่ได้ คนที่รู้สึกว่าตนไม่มีใครรัก และไม่มีใครต้องการเท่านั้น ที่จะรู้สึกว่าทนถูกปฏิเสธหรือถูกรังเกียจไม่ได้ และจะรุนแรงก้าวร้าวกับตนเอง หรือกับคู่ของตน จนถึงกับยิงคู่รักแล้วยิงตัวตา
ในที่สุดความก้าวร้าวอย่างทำลายก็หนีไม่พ้นเรื่องของการขาดความรักจากบิดามารดาแต่เยาว์วัย สตอรร์กล่าวว่า ไม่น่าเป็นไปได้ ที่จะมีสังคมใดในโลกซึ่งปราศจากการแข่งขันและการต่อสู้ แต่การต่อสู้มิได้หมายความถึง “สงคราม” หรือ “การทำลาย” เสมอไป
เด็กที่จะเติบโตขึ้นมาเป็นคนอิสระและพึ่งตนเองได้ต้องมีส่วนของความก้าวร้าว ถ้าเด็กไม่ก้าวร้าวเลยเขาจะต้องพึ่งมารดาไปตลอดชีวิต เขาจะไม่รู้จักโต, เขาจะไม่อาจเป็นปัจเจกชน, เขาจะไม่สามารถปกครองตนเอง, และไม่อาจเป็น “นาย” ของชีวิตได้
เป็นที่น่าสังเกตว่า เด็กถูกห้ามไม่ให้ทำโน่นทำนี่ หรือ ไม่ห้าจับโน่นหยิบนี่มากมายเกินไป จนเขาเกิดความคับข้องใจ (frustration) ความโกรธและความก้าวร้าวจึงถูกกดเก็บ (repressed) ไว้มากเพราะถูกจำกัด ความก้าวร้าวที่ถูกกดเก็บไว้นั้นอาจมีมากเสียจนเป็นผลร้าย ก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเองหรือต่อผู้อื่นในเวลาต่อมา


ความก้าวร้าวอย่างสร้างสรรค์..........


แนวดังกล่าวนี้ทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่า เด็กที่คับข้องใจน้อยที่สุดจะไม่ก้าวร้าวแท้จริงการณ์กลับตรงกันข้าม กล่าวคือ เด็กที่ได้รับการตามใจและมีเสรีภาพมากเกินไปกลับก้าวร้าวมาก เด็กจะรู้สึกขาดความมั่นคงทางใจ เขาจะไม่แน่ใจในบิดามารดาที่ไม่เคยก้าวร้าวเลย เขาจะรู้สึกว่าบิดามารดาไม่เคยต่อสู้เพื่อปกป้องคุ้มครองเขา อีกประการหนึ่งการขจัดหรือระบายความก้าวร้าวย่อมต้องการฝ่ายตรงกันข้าม ถ้าเด็กไม่มีใครที่เป็นฝ่ายโต้แย้ง, ขัดขืนเขาเสียบ้าง เขาจะรู้จักต่อสู้ดิ้นรนได้อย่างไร
การที่มนุษย์เรามีความเห็นไม่ตรงกัน, มีการขัดแย้งกัน, และมีการแข่งขันในทางสร้างสรรค์เป็นของดี เป็นส่วนของการสร้างเอกลักษณ์ และทำให้มนุษย์ดำรงชีพอยู่ได้ ถ้าเราไม่มีคนอื่นที่คิดและเชื่อ แตกต่าง จากเรา เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราคือใคร
ถ้าไม่มี “เขา” แล้วจะมี “เรา” ได้อย่างไร


ความขัดแย้งและความแตกต่างเป็นคุณมากกว่าโทษ ถ้าเรายอมรับความสำคัญข้างต้นดังกล่าว
แล้วทำไมเราจะต้องก้าวร้าวอย่างทำลาย “คน” หรือ “พวก” หรือ “สังคม” ที่ขัดแย้งกับเรา และถ้าเรายอมรับว่า สังคมใดก็ตามไม่อาจปราศจากการต่อสู้ได้ ทำไมเราไม่ชื่นชมฝ่าย “เขา” และพร้อมที่จะต่อสู้อย่างสร้างสรรค์
ในโลกเรานี้มีที่แคบๆ อยู่เพียง 2 แห่งเท่านั้น ที่มนุษย์อยู่อย่างสบายไม่ต้องต่อสู้ดิ้นรนเลย แห่งแรกคือ โพรงมดลูกของมารดา แห่งสุดท้ายคือหลุมฝังศพ ซึ่งทั้งสองแห่งนั้นเป็นที่รโหฐานที่สุดของมนุษย์ แต่ทั้งสองแห่งนั้นก็ไม่มีไดนามิคของชีวิต แห่งแรกไดนามิคยังไม่เริ่ม และแห่งหลังไดนามิคของชีวิตได้จบลงแล้ว เมื่อไม่ต้องต่อสู้ก็ไม่ต้องก้าวร้าว
เราทุกคนก็ได้ผ่านแห่งแรกมาแล้ว แต่ก็ยังเดินทางไปไม่ถึงแห่งหลัง จึงยังต้องต่อสู้
เมื่อต้องต่อสู้ก็ต้อง มีส่วน ของความก้าวร้าว
แต่เราฝังใจเชื่อผิดๆ หรือมีอคติต่อความก้าวร้าวมานาน เรานึกถึงมันแต่ในแง่ทำลาย
บางทีบทความนี้อาจทำให้ท่านนึกถึงความก้าวร้าวในส่วนที่สร้างสรรค์บ้าง
ท่านที่เคยเข้าใจผิดจะได้เลิกคิดก้าวร้าวต่อความก้าวร้าวเสียที
*******************************************


ที่มาของข้อมูล: จากบทความเพื่อสุขภาพจิต ของ แพทย์หญิงสุพัฒนา เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข หน้า 36-40.


ผู้แต่ง: หนังสือบทความเพื่อสุขภาพจิต/โดยกรมสุขภาพจิต - dmhstaff@dmhthai.com - 4/1/

แขกที่ไม่ได้รับเชิญ

ยินดีต้อนรับสู่บทความของฉัน วิชาอินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน