วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

จิตวิทยากับความรัก

         อเอ่ยถึงคำว่า รัก’ มักมีคำถามเชยๆ (หรือไม่เชย แต่เป็นคำถามอมตะ) ที่ถามกันเรื่อยมาว่า ความรักคืออะไร?
คนโสดหัวใจยังไม่เคยมีคู่ทั้งหลายได้ยินเข้าคงได้แต่แสบๆ คันๆ ที่กลางใจเพราะอยากมีส่วนร่วมในการบอกกล่าว แต่จะพูด
ไปมันก็ไม่ใช่เรื่องของเรา เช่นนั้นก็ปล่อยให้คนมีรัก และเคยมีรักไปแสดงความเห็นกันเองดีกว่าเป็นไหนๆ บางคู่ก็ว่ารักคือ
การให้ บางคู่ว่ารักคือการเสียสละ บ้างว่าเป็นเรื่องความเข้าใจ และบ้างก็ว่าเป็นเรื่องความผูกพัน ฯลฯ
 
            ทั้งหลายทั้งมวลที่ยกตัวอย่างมา เป็นนิยามรักตามแบบฉบับที่เรามักจะได้ยินกันบ่อยๆ แต่แท้จริงแล้ว ความหมาย
ของคำว่า 
รัก’ ที่ตายตัวนั้นเป็นอย่างไร ก็ยังไม่เคยมีใครกล้าฟันธงกันสักที...    
            ตามพจนานุกรมภาษาอังกฤษ รัก’ มีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษว่า to love, to care for, to be fond of [2] 
ซึ่งหมายถึง to feel love, desire, or strong friendship 
[3] นั่นคือ ความรู้สึกรัก ซึ่งรวมถึงความปรารถนา ตลอดจน
สัมพันธภาพที่เข้มแข็งระหว่างบุคคล
 
            สำหรับความรักตามหลักจิตวิทยานั้น อีริคสัน (Erickson[4]) ได้อธิบายถึง ความรักความห่วงใย ไว้ว่าเป็นพฤติกรรม
ที่แสดงออกแล้วทำให้อีกฝ่ายมีความสบายใจ อบอุ่นใจ ความรักเป็นความสัมพันธ์ทางอารมณ์ระหว่างบุคคล มิใช่เพียงความ
ต้องการทางร่างกาย ความรักไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่ความรักเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้
 
            การมีความรักควรจะเริ่มพัฒนาจากการรักตนเองก่อน และเป็นธรรมดาที่เมื่อเรารักใครแล้ว เราย่อมต้องการความ
พึงพอใจ มีความซื่อตรงจงรักภักดี และยินดีให้ความช่วยเหลือจากเขา แต่ก็มิใช่ว่าเราจะเป็นฝ่ายเสียสละแต่เพียงผู้เดียว 
 
            ความรักตนเองทำให้เรารักคนอื่นเป็น ความรักตนเองย่อมตรงกันข้ามกับความเห็นแก่ตัว ผู้ที่มีความรักย่อมมี
ทัศนคติที่จะเอื้อเฟื้อรับผิดชอบ นับถือ เข้าใจผู้ที่เรารัก ไม่ดูดายต่อความต้องการ และการแสดงออกของอีกฝ่ายหนึ่ง 
รวมทั้งควรมองเขาอย่างเป็นกลาง เข้าใจเขาอย่างถ่องแท้ รู้ซึ้งถึงความต้องการและความจำเป็นของเขา พร้อมที่จะให้อภัยกัน
เสมอ โดยที่ทั้งสองฝ่ายต้องเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับในขณะเดียวกันทั้งคู่
[5]
 
            แล้วคำถามยอดฮิตต่อไปที่ตามมาก็คือ ... ความรักเกิดขึ้นได้อย่างไร?’ … เป็นไปได้ไหมที่การมีความรักไม่
เกี่ยวข้องกับเหตุผลอะไรเลย แต่อาจเกิดจากสิ่งที่ฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกมาตั้งนานแล้ว เช่น เคยรักใครชอบพอกันตั้งแต่สมัยที่
ยังเป็นเด็ก ก็เลยรักต่อเนื่องมาจนโต ประมาณว่ามีรักแรกมาตั้งนานแล้วแต่เพิ่งจะมาค้นพบใจตนเอง
!
 
            ประการต่อมา ความรัก อาจเกิดจากความประทับใจครั้งแรก (First impression) ในคุณสมบัติทางกาย เช่น 
รูปสมบัติและคุณงามความดีอื่นๆ หรืออาจจะเป็นเพราะความใกล้ชิดสนิทสนมกัน ความสงสาร ความเป็นผู้มีอุปการคุณ 
ความแตกต่างของฮอร์โมนเพศในร่างกายของแต่ละคน ความแตกต่างของขั้วไฟฟ้าสถิตในบุคคลแต่ละเพศ คลื่นรัศมีที่เปล่งออก
จากร่างกาย หรืออาจเป็นเพราะบุพเพสันนิวาส (ที่ดลบันดาลให้คู่อาละวาดมาพบกัน...ฮา) แล้วรักของคุณเกิดขึ้นได้อย่างไร 
พอจะจำกันได้หรือไม่คะ

            ทีนี้เมื่อเกิดความรักขึ้นมาในหัวใจของแต่ละคนแล้ว เคยสังเกตกันหรือไม่ว่า ทำไมบางครั้งถึงได้รู้สึกเป็นสุข เป็นทุกข์
เป็นห่วง อยากจะนึกหาสารพัดวิธีดีๆ มาทำให้คนที่เรารักประทับใจขึ้นมาได้อย่างน่าประหลาด นั่นเป็นเพราะคนที่มีความรักมัก
มีความผูกพันทางอารมณ์ 
3 ประการด้วยกัน คือ  
 
            1. ด้านความรู้สึก เป็นความรู้สึกรักใคร่ รู้สึกชอบ รู้สึกเป็นสุขที่ได้อยู่ใกล้ ทุกข์ใจเมื่อยามห่าง
2. ด้านความคิด เป็นการมองคนที่เรารักในแง่ดี มองเห็นคุณค่าและความหมายของเขา อยากทำสิ่งที่ดีให้และ
ปรารถนาที่จะให้เขาพบแต่ความสุข
            3. ด้านการกระทำ เป็นการปฏิบัติต่อกันอย่างอ่อนโยน การดูแลเอาใจใส่ การสัมผัส กอดจูบและมีเพศสัมพันธ์
 
เช่นนั้น พฤติกรรมที่กล่าวถึงในข้างต้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับคนกำลังมีความรัก เพราะเมื่อความรักได้เกิดขึ้นแล้ว
ระหว่างคนสองคน พวกเขาก็จะแสดงออกถึงความรักที่มีให้แก่กันและกัน ซึ่งการแสดงออกนี้อยู่บนพื้นฐานของอารมณ์ อันจะ
แสดงออกมาทางความรู้สึก ความคิด และการกระทำต่อคู่รักด้วยกัน

            คนที่เคยมีความรักทราบหรือไม่ว่า 
ความรัก’ ประกอบด้วย ความใกล้ชิดผูกพัน (Intimacy) การอุทิศตน 
(
Commitment) และอารมณ์รัก (Passion)
[6] นั่นคือคนที่มีความรักจะมีความรู้สึกว่าอยากใกล้ชิดสนิทสนมกับคนรัก มีความ
ผูกพันและมีความรู้สึกร่วมกับบุคคลอันเป็นที่รักเมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์ต่างๆ โดยรู้สึกเท่ากับว่าเป็นเรื่องของตนเอง และ
สามารถถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของกันและกันได้ รวมทั้งจะมีความรู้สึกเทิดทูน นับถือ และศรัทธาในคนรักของตน

            การตรวจสอบในเบื้องต้นว่าเราได้พบรักแล้วหรือยัง อาจใช้วิธีการสำรวจตนเองว่า 
มีอารมณ์รักเกิดขึ้นหรือเปล่า?” ผู้ที่พบรักและกำลังอยู่ในห้วงแห่งความรัก จะมีอารมณ์รักซึ่งเป็นความรู้สึกภายในใจที่เป็นความปรารถนา เป็นแรงผลักดันที่
จะดึงดูดหญิงชายเข้าหากัน อารมณ์รักแสดงออกมาในรูปของความรู้สึกโรแมนติก และมีความรู้สึกว่าต้องการใกล้ชิดทางด้าน
กายภาพกับบุคคลอันเป็นที่รัก รวมทั้งการมีเพศสัมพันธ์ด้วย

            ในการศึกษาความคิดเห็นของคู่รักหลายๆ คู่ พบว่า ความรักถูกเลือกให้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของการมี
สัมพันธภาพรักที่มีความสุข นอกจากนี้ ผลการวิจัยยังพบอีกว่าคู่รักที่มีความรู้สึกรักใคร่ต่อกันในระดับสูง เมื่อแต่งงานก็จะมี
ความพึงพอใจในชีวิตสมรสในระดับสูงอีกด้วย

            แต่การจะประคับประคอง 
ความรัก’ ให้เป็นรักเดียวที่มั่นคง คงทน และถาวร จนความรักสุกงอมหอมหวาน ทั้งสอง
ฝ่ายควรมองหามองเห็นคุณค่าและส่วนดีของอีกฝ่ายหนึ่ง ในที่นี้มิได้หมายถึง การมองว่าอีกฝ่ายหนึ่งดีเลิศแบบชายหรือหญิง
ในอุดมคติซะทีเดียว แต่หมายถึงการมองและยอมรับสภาพความเป็นจริงที่เขาและเธอต่างเป็น 
 
ปัญหาที่พบบ่อยสำหรับคู่รักหลายๆ คู่ที่ต้องบายรักแรก แล้วต้องไปแสวงหารักครั้งใหม่คือ การมองข้ามสิ่งที่ดีของ
อีกฝ่ายหนึ่งไป และมองเห็นเพียงข้อบกพร่องในคู่รักของตนเท่านั้น 
 
            ซึ่งปัญหานี้ เรามีวิธีแก้ไขได้ง่ายๆ ด้วยการมองเห็นคุณค่าและส่วนดีของบุคคลอันเป็นที่รักของเรา โดยใช้คำพูด
หรือการกระทำเพื่อบ่งบอกว่าเราเห็นคุณค่าในตัวเขา เช่น แม้ฝ่ายหญิงจะไม่มีฝีมือในการทำอาหารหรือที่เรียกกันทั่วๆ ไปว่า
ไร้เสน่ห์ปลายจวัก แต่ฝ่ายชายก็ยังคงยืนยันที่จะทานอาหารที่คนรักของเขาทำให้เท่านั้น ด้วยเหตุผลสุดจะตื้นตันว่าอาหารที่
อร่อยที่สุดคือ อาหารที่ปรุงรสจากมือเธอ ในมุมกลับเมื่อเขายอมและอดทนเพื่อเธอได้ ฝ่ายหญิงก็ควรจะหาโอกาสพูดหรือมี
การกระทำที่แสดงความขอบคุณในสิ่งดีๆ ที่อีกฝ่ายหนึ่งทำให้เช่นกัน การแสดงออกซึ่งความรัก อย่างการสัมผัสหรือการโอบ
กอดก็ยังเป็นพฤติกรรมสามัญที่แสดงให้คนที่เรารักรู้ได้ว่า เรายังคงความสำคัญในกันและกันอยู่... 

             หลายคนพบสัจธรรมที่ว่า 
 กว่าจะพบคนถูกใจ ก็ได้ใช้เวลาไปมาก แต่การจะรักษาความรักที่ผ่านเข้ามาในชีวิตให้มี 
ความหอมหวานเหมือนช่วงแรกที่พบกันนั้น มันแสนจะยากเย็นกว่าหลายเท่านัก

 

[1] อาจารย์ประจำภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
[2] So Sethaputra. (2542). New Model Thai-English Dictionary. Volumn II (ป-ฮ). กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
[3] Longman Dictionary of Contemporary English. (1989).
[4] เชาวลิต สถากร. (2544). อ้างอิงมาจาก Erickson (1993)
[5] กิตติพัฒน์ สุขประสิทธิ์. (2548). บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ และทัศนคติด้านความรักของคู่สมรสที่มีความสุขในชีวิตสมรส
ต่างกัน.  ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.จิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพฯ บัณฑิตวิทยาลัย.
[6] เชาวลิต สถากร.  (2544). ความสัมพันธ์ของหลักทิศ 6 กับความรัก และความผูกพันของคู่สมรสของพนักงานต้องรับบน
เครื่องบินของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. กรุงเทพฯ บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น